Last updated: 13 มี.ค. 2566 | 1781 จำนวนผู้เข้าชม |
ในปัจุบันหลายๆ ท่านอยากเริ่มสร้างแบรนด์ หรือสินค้าของตัวเองกันมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่รับผลิตทุกขั้นตอน รวมถึงให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่อยากมีแบรนด์ ทั้งยังสามารถช่วยสร้างแบรนด์ให้ได้ และหลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า OEM ODM และ OBM คืออะไร ? ความแตกต่างระหว่างทั้งสามแบบนี้คืออะไร ?
OEM คืออะไร? ODM คืออะไร? OBM คืออะไร? สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คนทำธุรกิจผลิตสินค้า สร้างแบรนด์เป็นของตัวเองควรต้องรู้จัก เชื่อว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ ก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า OEM, ODM และ OBM กันมาบ้าง เพียงแค่ไม่รู้ความหมายแต่ละคำศัพท์ว่าคืออะไร แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งก่อนอื่นต้องบอกว่าคำศัพท์เหล่านี้ล้วนเป็นคำศัพท์ใช้ในการเรียกโรงงานผลิตสินค้าที่เปิดให้บริการแต่ละประเภทนั่นเอง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกโรงงานให้เหมาะกับสินค้าหรือธุรกิจของท่าน
OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturing ซึ่ง OEM คือ การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัท โดยที่ไม่มีตราหรือแบรนด์สินค้า เพื่อให้บริษัทนำสินค้าไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดยโรงงานประเภทนี้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามที่ผู้สั่งกำหนด แล้วนำไปติดแบรนด์ของผู้สั่ง หรือไม่ติดแบรนด์เลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สั่งผลิตสินค้า
โดยกระบวนการผลิตโรงงานประเภท OEM นี้ ก็เริ่มตั้งแต่การคิด วิจัยสูตร วางแผน ออกแบบ ใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของแบรนด์ประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนจัดการโรงงานผลิต โดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในการลงทุนผลิต และยังได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าอีกด้วย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเริ่มต้นที่จะทำธุรกิจ
สรุป ข้อดี - ข้อเสีย ของโรงงานประเภท OEM
ข้อดีของ OEM
- OEM ต้นทุนในการผลิตสินค้าต่ำ จึงช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้า
- ไม่ต้องลงทุนวิจัยและพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์
- สามารถเพิ่มไลน์การผลิตสินค้าได้ตามที่ต้องการ
- ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการดูแลกระบวนการผลิต
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลและให้คำปรึกษาตลอดการผลิตสินค้า
- สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังโรงงานอื่น หรือย้ายไปผลิตที่ประเทศที่มีต้นทุนต่ำได้ตลอด
- เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ข้อเสียของ OEM
- มีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงกว่า เมื่อเทียบกับมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง
- กรณีใช้สูตรกลางในการผลิตสินค้า อาจจะทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ถ้าสินค้าไม่มีความแตกต่างหรือโดดเด่นมากพอ
อาจทำให้สร้างยอดขายได้ไม่มาก เพราะใครก็สามารถทำสินค้าเป็นของตัวเองได้
ODM ย่อมาจาก Original Design Manufacture ซึ่ง ODM คือ การรับจ้างออกแบบและผลิตสินค้าให้บริษัท เพื่อนำไปขายในแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งลักษณะโรงงานประเภท ODM ก็จะมีความคล้ายคลึงกับโรงงานประเภท OEM เลย เพียงแต่ว่า ODM สามารถพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการผลิต และนำเสนอให้กับลูกค้าที่มีแบรนด์อยู่แล้ว หรือช่วยกันออกแบบ ปรึกษาหารือกัน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกมาดีที่สุด โดยลูกค้ามีหน้าที่ในการวางจำหน่ายและกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดเอง จึงทำให้การผลิตในรูปแบบ ODM นั้นมีผลิตภัณฑ์ที่ออกมาพิเศษกว่าแบบ OEM แน่นอนว่าราคาค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างแบรนด์ใหม่ ๆ
สรุป ข้อดี ข้อเสีย ของโรงงานประเภท ODM
ข้อดีของ ODM
- เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำแบรนด์ใหม่
- ไม่ต้องคิดค้น พัฒนา หรือออกแบบสินค้าเอง
- เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นจะต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
- ไม่ต้องแบกรับภาระหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า
- สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกับสินค้าในตลาด จึงสร้างจุดเด่นได้ง่าย
- กรณีเลือกการออกแบบที่เป็น Exclusive คุณก็จะได้แบรนด์สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร
- ช่วยลดต้นทุนในการผลิต สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางในการผลิต และการออกแบบ ที่คอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ข้อเสียของ ODM
- ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงกว่าการผลิตเอง หรือเทียบกับโรงงานประเภทอื่น ๆ
OBM ย่อมาจาก Original Brand Manufacturing ซึ่ง OBM คือ การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของผู้ผลิต หรือเรียกง่าย ๆ ว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นมีโรงงานผลิตที่เป็นของตัวเอง โดยโรงงานประเภท OBM ก็จะเริ่มตั้งแต่ดำเนินการศึกษา วิจัย พัฒนาสินค้าตั้งแต่กระบวนแรก ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตสินค้า และรับผิดชอบด้านการจัดจำหน่ายสินค้าของแบรนด์ตัวเองเข้าสู่ตลาดอีกด้วย
ซึ่งโรงงานประเภทนี้เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มีความมั่นคงแข็งแรง และต้องการเติบโตอย่างเต็มที่ และมีชื่อเสียงที่สามารถทำการตลาดภายใต้แบรนด์ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะหากแบรนด์มีความแข็งแรงมากพอ และต้องการที่จะผลิตสินค้าจำนวนมากการสร้างโรงงานผลิตเองน่าจะตอบโจทย์ธุรกิจได้ดี เนื่องจากช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้ ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตสินค้าประเภท ก็อาจจะไม่เท่ากันในแต่ละล็อตการผลิต แต่เจ้าของแบรนด์ก็ยังสามารถควบคุมราคาและคุณภาพสินค้าได้อย่างอิสระ
สรุปภาพรวมสินค้า OEM ODM และ OBM แตกต่างกันอย่างไร
สรุปแบบสั้น ๆ ให้เข้าใจง่าย ดังนี้
สินค้า OEM
ประเภท : รับจ้างผลิตสินค้า
การพัฒนาและออกแบบสินค้า : เจ้าของแบรนด์
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า : ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทุกขั้นตอน
ต้นทุนสินค้า : ไม่สูงมากถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง
ทุนจัดตั้งโรงงาน : ไม่ต้องลงทุนจัดตั้งโรงงานและจ้างแรงงานด้วยตนเอง
สินค้า ODM
ประเภท : รับจ้างผลิตและออกแบบสินค้า
การพัฒนาและออกแบบสินค้า : โรงงาน , โรงงานและเจ้าของแบรนด์
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า : ไม่สามารถตรวจสอบขั้นตอนการผลิตได้อย่างละเอียด
ต้นทุนสินค้า : ค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าเป็นสินค้าผูกขาดแบรนด์
ทุนจัดตั้งโรงงาน : ไม่ต้องลงทุนจัดตั้งแรงงานและจ้างแรงงานด้วยตนเอง
สินค้า OBM
ประเภท : สินค้าของโรงงานบริษัทนั้น ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เอง
การพัฒนาและออกแบบสินค้า : เจ้าของแบรนด์พัฒนาและออกแบบด้วยตนเอง
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า : สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทุกขั้นตอน
ต้นทุนสินค้า : ต้นทุนต่ำ สามารถควบคุมราคาต้นทุนเองได้
ทุนจัดตั้งโรงงาน : ทุนในการจัดตั้งแรงงานและจ้างแรงงานสูง
วิธีเลือกโรงงานประเภท OEM อย่างไรให้ดีที่สุด
- เลือกโรงงานที่มีการคิดค้นและพัฒนาสูตร
ยิ่งถ้าคุณเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ แนะนำให้หาโรงงาน OEM ในไทยที่สามารถช่วยคิดค้นพัฒนาสูตรสินค้าให้กับเราได้ เพื่อจะได้สร้างจุดเด่นและความแตกต่างให้แบรนด์ไม่เหมือนกับแบรนด์อื่น ๆ
- เลือกโรงงานที่ใช้ส่วนผสมได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
สิ่งสำคัญการทำธุรกิจ OEM คือ สินค้าดีมีคุณภาพแน่นอนถ้าต้องการสินค้าที่ดีมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน จึงจำเป็นต้องเลือกโรงงานที่มีการใช้ส่วนผสมในการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบมาแล้ว และที่สำคัญตัวโรงงานก็จะต้องได้รับมาตรฐานด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอาง หรืออาหารเสริม ยิ่งต้องเลือกโรงงานที่มีใบรับรองคุณภาพและมาตรฐาน
- เลือกโรงงานที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาตลอดการผลิตสินค้า
สำหรับคนเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ยังจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องคอยให้คำปรึกษา ดังนั้น โรงงาน OEM ในไทยหลายแห่งจึงมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้ปรึกษา หากคุณเลือก OEM ในไทยที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ สินค้าที่ผลิตออกก็อาจจะไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน
- เลือกโรงงานที่ให้บริการครบวงจร หรือ One stop service
การทำธุรกิจบางครั้งจำเป็นจะต้องมีผู้ช่วย ยิ่งถ้าบริษัทของคุณไม่มีโรงงานผลิตสินค้าเอง แนะนำให้เลือก OEM ในไทยที่พร้อมให้บริการครบวงจร หรือเรียกว่า One stop service เพราะจะช่วยให้ทำธุรกิจได้ง่าย และสบายมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าได้โรงงานที่สามารถดูแลตั้งแต่เริ่มต้นการคิดค้น วิจัย คิดค้นสูตร ไปจนถึงการให้คำแนะนำการผลิตสินค้าไปจนถึงการจำหน่ายอย่างครบวงจรทุกขั้นตอนก็จะยิ่งดีมากขึ้น
สำหรับใครอยากลองทำธุรกิจสร้างแบรนด์ของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าจะผลิตสินค้าอะไรแนะนำให้เลือกเป็นสินค้าใกล้ตัว ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ เป็นต้น
หากสนใจจะผลิตหรือสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สามารถปรึกษากับทางโรงงาน ครีมเมอรี่ พลัส ซึ่งเป็นโรงงาน OEM/ODM ในประเทศไทยที่รับผลิตเครื่องสำอางครบวงจร พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service พร้อมการันตีคุณภาพ และมาตรฐานระดับสากล โดยควบคุมการผลิตด้วยมาตรฐานระดับสากล GMP, ISO 9001, FDA, Green Industry
15 ธ.ค. 2566
24 ก.ย. 2567
18 ก.ย. 2567
13 ก.ย. 2567