Last updated: 15 มี.ค. 2566 | 5788 จำนวนผู้เข้าชม |
เรื่องควรรู้ก่อนเลือกใช้ ครีมกันแดด
แสงแดดแรงขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ในปัจจุบันต้องพบเจอกับปัญหาผิวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าหากไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถที่จะเลือกปกป้องผิวจากแดดไหม้ ได้อย่างไม่ยาก ในปัจจุบันเป็นยุคที่ทุกคนล้วนใส่ใจในการดูแลตัวเองมากขึ้น เมื่อพูดถึงครีมกันแดด ทุกคนต้องรู้จักและคุ้นเคยอย่างแน่นอน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้และเข้าใจว่าครีมกันแดดคืออะไร? ทำไมการใช้ครีมกันแดดถึงมีความสำคัญ? มีวิธีเลือกซื้อครีมกันแดดอย่างไรให้เหมาะสมกับสภาพผิวเรา และต้องทาแบบไหน
ทำความรู้จักกับครีมกันแดด
ครีมกันแดดคืออะไร ?
ครีมกันแดด (Sunscreen) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวหนัง เพื่อปกป้องผิวหนังจากรังสี UV (Ultraviolet) ที่มาจากแสงแดดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิว และยังทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีใต้ผิวหนังทำให้สีผิวคล้ำได้ ดังนั้นการทาครีมกันแดดจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของทุกคน
ครีมกันแดด มีกี่ประเภท
กันแดดมีการแยกประเภทอย่างชัดเจน หากนำมาใช้ผิดประเภท อาจส่งผลเสียต่อผิว การใช้ครีมกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้กระทั่งการทำงานในที่ร่ม ในอาคารตลอดเวลา แสงแดดก็ยังสามารถที่จะทำร้ายผิวหน้าของเราได้ และ ครีมกันแดด แบบไหน ที่เหมาะกับผิวของเรา หรือเหมาะกับการใช้งานมากที่สุด แบ่งตามคุณสมบัติออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ครีมกันแดด ประเภทดูดซับรังสี (Chemical Sunscreen)
ประเภทที่มีสารเคมีที่มีคุณสมบัติของการดูดซับรังสีในสงแดดเอาไว้ได้บางส่วน ป้องกันไม่ให้รังสีเหล่านี้พุ่งทะลุไปสัมผัสกับผิวของเรานั่นเอง ข้อดีก็คือประเภทนี้จะไม่มีสีหรือมีสีอ่อนและมีราคาถูก ส่วนข้อเสียคือต้องทาซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อเติมการดูดซับรังสีได้มากขึ้น และสำหรับผิวแพ้ง่ายอาจมีอาการแพ้สารเคมีได้
- ครีมกันแดด ประเภทสะท้อนรังสี (Physical Sunscreen)
โดยประเภทที่มีสารกันแดดที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสีและกระจายรังสีจากแสงแดดออกไปจากผิวหนังได้เกือบทั้งหมด ข้อดีก็คือเป็น ประเภทที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และไม่จำเป็นต้องทาซ้ำบ่อยๆ ซึ่งจะมี ความแต่างกันระหว่าง ครีมกันแดดแบบ Chemical และ Physical
- ครีมกันแดด ประเภทผสม (Hybrid Sunscreen)
เป็นสารกันแดดที่มีการนำจุดเด่นของสารกันแดดชนิด Physical และ Chemical เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้สารกันแดดประเภทนี้มีคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดดได้ทั้งแบบดูดซับและสะท้อนรังสีไปในตัว มีเนื้อสัมผัสบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ เมื่อทาลงผิวไม่ขาววอก มีความปลอดภัยและความเสถียรสูง สามารถปกป้องแสง UV ได้ยาวนาน ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้
วิธีเลือกซื้อครีมกันแดดให้เหมาะสม
- ครีมกันแดดที่ป้องกันมากกว่า SPF 30+
การเลือกใช้ครีมกันแดดในชีวิตประจำวัน เฉลี่ยแล้วผิวของคนเรามีช่วงเวลาในการถูกทำร้ายจากแสงแดดประมาณ 7 – 10 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นการเลือกใช้ครีมกันแดดในชีวิตประจำวันจึงควรมีความสามารถในการทนแดดได้ขั้นต่ำ 7 ชั่วโมง โดยปกติแล้วผิวหนังของเราจะสามารถทนแดดได้ประมาณ 15 นาที หากนานกว่านี้ผิวหนังจะเริ่มไหม้แดง การเลือกทากันแดดที่มีค่า SPF 30+ หมายถึงผิวเราจะสามารถทนแดดได้เป็นเวลา 450 นาที หรือประมาณ 7 ชั่วโมง และค่า SPF 30 จะสามารถดูดซับ UVB ได้สูงถึง 96.7 % ดังนั้นการเลือกครีมกันแดดที่มีค่าการป้องกันมากกว่า SPF 30 จึงมีความเหมาะสม
- ครีมกันแดดแบบกันน้ำได้
แต่ละคนมีกิจกรรมระหว่างวันที่ไม่เหมือนกัน แต่เกือบทุกคนเชื่อว่าต้องมีช่วงเวลาที่ทำให้เหงื่อออก หรือการทำกิจกรรม adventure หรือกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องโดนแดดอย่างหนัก การเลือกครีมกันแดดที่ช่วยกันน้ำจึงเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ให้สารกันแดดยังอยู่บนผิวหน้าเราได้นานขึ้น
เลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว
ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดให้เลือกมากมายหลายรูปแบบ ครีมกันแดดถือได้ว่าเป็นสกินแคร์รูปแบบหนึ่งจึงควรเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาให้ถูกต้อง และเหมาะสม
ผิวมัน – ผิวผสม
ผู้ที่มีสภาพผิวมันถึงผิวผสม ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่เป็น เนื้อน้ำ, โลชั่น, เจล หรือครีมกันแดดที่มีเครื่องหมายกำกับว่า ปราศจากน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหน้ามันระหว่างวัน
ผิวธรรมดา
ผู้ที่มีสภาพผิวธรรมดา เป็นผิวที่สามารถเลือกใช้ครีมกันแดดได้ทุกรูปแบบ สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ
ผิวแห้ง
ผู้ที่มีสภาพผิวแห้ง ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่เป็นเนื้อครีมที่มีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงผิวให้มีความชุ่มชื้น ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
ผิวแพ้ง่าย
ผู้ที่มีสภาพผิวแพ้ง่าย ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่ไม่มีส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารพาราเบน แอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือครีมกันแดดที่มีเครื่องหมายกำกับว่า ผ่านการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญว่าไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ใด ๆ กับผิว
ในปัจจุบันครีมกันแดดมีการพัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบเนื้อน้ำ โลชั่น เจล ครีม สเปรย์ เป็นต้น จากรูปแบบที่กล่าวมา ครีมกันแดดแบบสเปรย์ดูมีความสะดวกมากที่สุดในการใช้ แต่ข้อเสียของการใช้ครีมกันแดดแบบสเปรย์คือ ยากที่จะมั่นใจได้ว่าครีมกันแดดคลอบคลุมผิวเราทั้งหมดแล้ว การเลือกใช้ครีมกันแดดรูปแบบเนื้อครีมจึงให้ผลดีและสร้างความมั่นใจได้มากกว่า
วิธีการทาครีมกันแดดให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
- หากเป็นครีมกันแดดเนื้อน้ำควรใช้ที่ปริมาณ เหรียญ 10 บาท 1 เหรียญ
- หากเป็นครีมกันแดดเนื้อครีมควรใช้ครีมกันแดดปริมาณ 2 ข้อนิ้ว
สำหรับคนที่รู้สึกว่าทาครีมกันแดดในปริมาณที่แนะนำแล้วหนักหน้า และซึมเข้าสู่ผิวได้ช้า สามารถแบ่งทาเป็น 2 รอบได้ โดยการทาครีมกันแดดรอบแรกพร้อมทั้งปล่อยให้ครีมกันแดดซึมเข้าสู่ผิวเรียบร้อยแล้ว ค่อยทาครีมกันแดดที่เหลือซ้ำอีกรอบ
- ทาครีมกันแดดก่อนออกแดด 15 - 30 นาที
อาจจะเป็นวิธีทาครีมกันแดดที่หลาย ๆ คนมองข้าม แต่นับว่าเป็นวิธีทาครีมกันแดดที่สำคัญอีกหนึ่งวิธีเลยทีเดียว คือ การทาครีมกันแดดก่อนออกแดด 15 - 30 นาที โดยวิธีนี้เป็นให้ครีมกันแดดซึมเข้าสู่ผิวเรียบร้อย และพร้อมที่จะทำหน้าที่ปกป้องผิวหนังจากแสงแดด ควรให้ครีมกันแดดซึมเข้าผิวให้ดีก่อน เพราะหากไม่รอให้ครีมกันแดดซึมเข้าสู่ผิวครีมกันแดดอาจจะละลายไปกับน้ำหรือเหงื่อได้ ดังนั้นวิธีทาครีมกันแดดก่อนออกแดด 15 - 30 นาที นับว่าสำคัญและเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการปกป้องผิวของเราให้ปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวัน
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าถ้าหากจำเป็นต้องตากแดดหรือโดดแดดมากๆ คุณสามารถทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวันได้ ในทุก 2 - 3 ชั่วโมง แต่ระหว่างวันที่แต่งหน้าไปแล้วจะทาครีมกันแดดซ้ำได้ยังไง ?
การทาครีมกันแดดหน้าระหว่างวันจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อน เพื่อลดโอกาสการเกิดสิวที่มีสาเหตุมาจากการอุดตันของครีมกันแดดและเครื่องสำอาง
ทั้งนี้สำหรับคนที่แต่งหน้าด้วยการลงแป้งหรือรองพื้นอาจจะใช้แป้งที่มีส่วนผสมของครีมกันแดด เพื่อเป็นการทาครีมกันแดดระหว่างวัน เป็นวิธีทาครีมกันแดดที่สามารถป้องกันไม่ให้เมคอัพหลุดออกได้
หากสนใจผลิตหรือสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือครีมกันแดด สามารถปรึกษากับทางโรงงาน ครีมเมอรี่ พลัส ซึ่งเป็นโรงงาน OEM/ODM ที่รับผลิตเครื่องสำอางครบวงจร พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service การันตีคุณภาพ และมาตรฐานระดับสากล โดยควบคุมการผลิตด้วยมาตรฐานระดับสากล GMP, ISO 9001, FDA, Green Industry
15 ธ.ค. 2566
24 ก.ย. 2567
13 ก.ย. 2567
18 ก.ย. 2567