Last updated: 28 พ.ย. 2563 | 2968 จำนวนผู้เข้าชม |
“กลุ่มสินค้าที่ดีมานด์ลดลง” – เพราะลูกค้าไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ และต้องการเก็บเงินสดไว้กับตัว
– ยานยนต์และส่วนประกอบ
– อสังหาริมทรัพย์
– วัสดุก่อสร้าง
– เฟอร์นิเจอร์
– สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
– เครื่องประดับและสินค้าลักชัวรี
– ทัวร์ท่องเที่ยว
– บริการทางการเงินและบัตรเครดิต
– ผลิตภัณฑ์นม
– เบเกอรี่และบิสกิต
“กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ” – เพราะประชาชนอยู่กับบ้านและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
– เครื่องดื่ม (ทั้งที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์)
– เครื่องสำอางและสกินแคร์
– ผลิตภัณฑ์บำรุงผม
– เสื้อผ้าแฟชั่น
– ร้านอาหารและร้านค้ารีเทล
– ขนม
– น้ำมันเชื้อเพลิง
– อุปกรณ์สำนักงาน
– สินค้าเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
– โทรคมนาคม
– กิจกรรมบันเทิงนอกบ้าน เช่น โรงหนัง
– ขนส่งมวลชน
– การศึกษา
– ธนาคาร
“กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลเชิงบวก” – เพราะสาธารณชนให้ความสนใจอย่างมาก
– อีคอมเมิร์ซ
– ฟู้ดเดลิเวอรี่
– โลจิสติกส์สำหรับลูกค้ารายย่อย
– ประกัน
– ความบันเทิงภายในบ้าน
– สุขภาพ เช่น ยา อาหารเสริม
สินค้าเพื่อสุขภาพและความสะอาดจะยังติดลมบน
ดร.อาภาภัทรเสนอข้อมูลต่อว่า หากแบ่งกลุ่มสินค้าตามพฤติกรรมการซื้อขณะนี้และแนวโน้มหลังจากสถานการณ์ COVID-19 ผ่อนคลายลง สามารถแยกได้เป็น 4 กลุ่มคือ
1.กลุ่มสินค้าที่มีดีมานด์เพิ่มเพราะเกี่ยวข้องกับการรับมือไวรัส COVID-19 โดยตรง หลักๆ คือสินค้าที่ใช้ทำความสะอาด หรือเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ กลุ่มนี้มีการซื้อที่มากขึ้นในช่วงของการระบาดและเชื่อว่าเทรนด์การซื้อสินค้ากลุ่มนี้จะกลายเป็น New Normal ถาวร
2.กลุ่มสินค้าที่มีดีมานด์เพิ่มเพราะคนอยู่บ้านมากขึ้น หลักๆ คือสินค้าที่เกี่่ยวกับการทำอาหารทานเองและของกินที่เรามักจะรับประทานในบ้าน เช่น กะทิ ซีเรียล ข้าวเกรียบกุ้ง กลุ่มนี้พบปริมาณการซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนไวรัสระบาด แต่คาดว่าเมื่อสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ การซื้อน่าจะลดลงไป
3.กลุ่มสินค้าที่มีดีมานด์เพิ่มเพราะเป็นสินค้าที่ถูกกักตุน ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เก็บไว้ได้นานและจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น ผงซักฟอก ปลากระป๋อง ผ้าอนามัย หลังจากการระบาดผ่อนคลายลง เชื่อว่าดีมานด์จะกลับไปเป็นปกติเหมือนก่อนการระบาด
4.กลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตภายในบ้าน เช่น เครื่องสำอาง สกินแคร์ คาดว่าหลังการระบาดผ่อนคลายลง ดีมานด์น่าจะกลับมาอย่างช้าๆ โดยขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ
สินค้าที่ได้ลูกค้าใหม่ในวิกฤต COVID-19
ด้าน “แมทธิว เฉิง” ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คันทาร์ เวิร์ลพาแนล ประเทศไทย ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสินค้าที่น่าจะได้ “โอกาส” เพราะมีลูกค้าใหม่ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในระยะนี้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการอยู่บ้าน สุขภาพ และการทำความสะอาด
โดยสินค้าเหล่านี้ เป็นตัวอย่างสินค้าที่มีสัดส่วนลูกค้าใหม่ต่อลูกค้าที่ซื้อสินค้าทั้งหมดเป็นอัตราส่วนตั้งแต่ 15-50% ในช่วงวันที่ 1 ม.ค. – 22 มี.ค. 63 (นิยาม “ลูกค้าใหม่” คือลูกค้ารายดังกล่าวไม่ได้ซื้อสินค้าชนิดนั้นมามากกว่า 1 ปี)
– รังนก
– ซอสมะเขือเทศ
– ช็อกโกแลต
– ข้าวเกรียบ
– น้ำยาบ้วนปาก
– น้ำยาถูพื้น
– โยเกิร์ต
– ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ
– เบียร์
– กะทิ
– มอยส์เจอไรเซอร์สำหรับทามือหรือทาตัว
แมทธิวกล่าวว่า สินค้าที่ผู้บริโภคหันมาซื้อเป็นครั้งแรกในรอบปีเหล่านี้คือโอกาส หากแบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ดี น่าจะสามารถจูงใจให้เป็นพฤติกรรมการซื้อซ้ำถาวรหลังจากนี้ได้
18 ก.ย. 2567
15 มี.ค. 2566
23 มี.ค. 2566
22 พ.ค. 2566